โรงเรียนวัดปัจจันตคาม

หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งคาโงก ตำบลทุ่งคาโงก อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา 82000

317733982_583865900407832_7610357142989828404_n

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

1082330019-20140915-135723

นายเสริมศักดิ์ ทันยุภัก
ผู้อำนวยการโรงเรียน

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนวัดปัจจันตคาม ตั้งขึ้นมาด้วยความร่วมมือกันระหว่างนายปาน สุทิน ปลัดอำเภอเมืองพังงา นายกฤติน บุญลิปตานนท์ ศึกษาธิการอำเภอเมืองพังงา สมุห์รุ่ง เจ้าอาวาสวัดทุ่งคาโงก และพันแข่งซิน สฤษดิสุข กำนันตำบลทุ่งคาโงก ได้เปิดทำการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๔ เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๔๗๐ มีนักเรียน ๒๕ คน ครู ๑ คน โดยใช้ศาลาวัดทุ่งคาโงกเป็นที่เรียนชั่วคราว ชื่อว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลทุ่งคาโงก (วัดทุ่งคาโงก)

ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนประชาบาลตำบลทุ่งคาโงก (วัดทุ่งคาโงก) เป็น “โรงเรียนวัดปัจจันตคาม”

ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้ช่วยกันสร้างอาคารเรียนชั่วคราวหลังคามุงจาก ฝากั้นไม้ไผ่ในที่ดินของวัดทุ่งคาโงก (ที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน) ในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๔ จึงย้ายนักเรียนจากศาลาวัดมาเรียนที่อาคารเรียนชั่วคราว

ปีการศึกษา ๒๕๑๖ โรงเรียนได้เปิดทำการสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ – ๖

ปีการศึกษา ๒๕๓๐ โรงเรียนได้เปิดทำการสอนระดับอนุบาล (เด็กเล็ก)

ปีการศึกษา ๒๕๔๐ โรงเรียนได้เปิดทำการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา

ทำเนียบผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย

1. นายง่วน ชุ่มถิ่น ปี พ.ศ. 2470 – 2499

2. นายจิรคม สร้างสมจิตร์ ปี พ.ศ. 2499 – 2537

3. นายประจวบ เสวกทรัพย์ ปี พ.ศ. 2537 – 2539

4. นายสมหมาย มงคลบุตร ปี พ.ศ. 2540 – 2552

5. นายทรงวิทย์ ชูวงศ์ ปี พ.ศ. 2552 – 2556

6. นายวิเชน ว่องกิจ ปี พ.ศ. 2556 – ปัจจุบัน

วิสัยทัศน์โรงเรียน

โรงเรียนวัดปัจจันตคาม จัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพตามเกณฑ์การศึกษา เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ก้าวทันเทคโนโลยี มีภูมิทัศน์สวยงาม นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ให้ผู้เรียนมีคุณธรรม นำชุมชนร่วมพัฒนา ครูมีมาตรฐานตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

พันธกิจ

1 ใช้หลักสูตรที่เหมาะสมในการพัฒนาผู้เรียน
2 จัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายในการพัฒนาผู้เรียน
3 นำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษา
4 พัฒนาปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
5 ส่งเสริมให้มีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
6 ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
7 ส่งเสริมให้ชุมชน องค์กรท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
8 พัฒนาครูให้มีมาตรฐานตามจรรณยาบรรณวิชาชีพ